ธุรกิจร้านกาแฟ อาชีพอิสระที่น่าลงทุนมีอัตราการเติบโตรวดเร็วอย่างเห็นได้ชัด เนื่องมาจากธุรกิจร้านกาแฟรายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้ สภาพดังกล่าวสร้างความคึกคักและตื่นตัวให้กับวงการธุรกิจส่วนตัวอย่างกาแฟเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกัน กระแสความนิยมการดื่มกาแฟของคนไทยก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมคนไทยนิยมดื่มกาแฟสำเร็จรูปกันเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันคนไทยได้หันมานิยมเข้าร้านกาแฟสดคั่วบดที่มีการตกแต่งร้านให้หรูหราทันสมัย สะดวกสบาย มีบรรยากาศที่รื่นรมย์สำหรับการดื่มกาแฟมากขึ้น เฉลี่ย 200 แก้ว/คน/ปี (ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปี 2555)
ขั้นตอนก่อนตัดสินใจทำอาชีพอิสระเปิดร้านกาแฟ
1.วางคอนเซ็ปส์หรือรูปแบบ ร้านกาแฟในฝันของผู้ทำอาชีพอิสระ ว่าอยากจะเปิด ร้านกาแฟ ในรูปแบบใด กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร สถานที่ใดบ้างที่ผู้ทำอาชีพอิสระอยากจะไปเปิด ร้านกาแฟ และต้องเดินทางสะดวก
ตัวอย่าง 1 – อยากเปิด ร้านกาแฟ แบบเคาน์เตอร์เล็กๆ แต่ไม่โนเนม ดูดีมีสไตล์
– เช่าพื้นที่หน้าร้าน
– หน้า ม.เอแบค, ม.ราม
– กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษา คนทำงาน
– เดินทางได้สะดวกเพราะ บ้านอยู่แถวบางกะปิ
ตัวอย่างที่ 2 – อยากเปิดเป็น ร้านกาแฟ แบบมีพื้นที่นั่ง ขายวาฟเฟิลควบคู่ด้วย บรรยากาศคลาสิค ไม่หรูแต่ดูดี
– เปิดในห้าง ย่าน ฝั่งธนฯ
– กลุ่มเป้าหมาย ครอบครัว และคนทำงาน
– เดินทางสะดวก เพราะบ้านอยู่ฝั่งธน
2. สำรวจความพร้อมของตนเอง พร้อมหรือยังกับทุ่มเทให้ร้านของผู้ทำอาชีพอิสระ มีเงินออมมากพอไหม และที่สำคัญมีเวลาให้กับธุรกิจกาแฟที่ผู้ทำอาชีพอิสระรักหรือยัง
3. หาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจกาแฟและร้านกาแฟ การหาข้อมูลนั้นอาจจะหาข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยอาจจะหาผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ หรือโดยการหาหนังสือเกี่ยวกับวิธีการชงกาแฟแบบต่างๆ การทำร้านกาแฟ สุดท้ายก็ลงเรียน ชงกาแฟ สัก 2-3 ที่ ก่อนไปเรียนก็ พยายามสร้างคำถามไว้ในใจว่าจะไปถามอะไรบ้างตอนเรียนนะ เพราะเหมือนกับเรามีความรู้อยู่ระดับหนึ่ง แล้วไปทบทวนเพิ่มเติม เพื่อนำไปใช้จริง ที่สำคัญอย่าอายครูและเพื่อนร่วมชั้นจะ จะไม่รู้วิชา ก็เหมือนกับ อายภรรยา ก็ไม่มีบุตรละ
4. ออกแบบร้าน และเริ่มก่อสร้าง ร้านกาแฟ ตามรูปแบบที่ผู้ทำอาชีพอิสระวางไว้ตั้งแต่แรก ที่สำคัญต้องกำหนดวันเปิดร้านให้ชัดเจน และทำตารางเพื่อเรียงลำดับหัวข้อต่างๆที่ต้องทำ เพื่อเป็นการวางแผนที่ดี
– ถ้าเป็นเคาน์เตอร์กาแฟ ธรรมดา ค่าเคาน์เตอร์ไม่ควรเกิน 50,000 บาท
– ถ้าเป็น ร้านกาแฟ งบประมาณในการก่อสร้าง ไม่ควรเกิน 30% ของเงินลงทุนทั้งหมด
5. การเลือกซื้ออุปกรณ์กาแฟ หลายต่อหลายคนหมดค่าใช้จ่ายไปกับการซื้อเครื่องชงกาแฟหลายแสน เปิดได้สักปีก็ปิดกิจการ ขายเครื่องคืนเหลือไม่กี่บาท หรือขายไม่ได้
การเลือกซื้อเครื่องชงกาแฟและอุปกรณ์กาแฟนั้น เป็นสิ่งถูกต้องที่สุดว่าเครื่องชงราคาแพงจะได้คุณภาพน้ำกาแฟที่ดีด้วย แต่ถ้าซื้อเครื่องขนาดสองแสนกว่าบาทมาชงขาย แก้วละ 20-35บาท ปกติราคานี้หักค่าวัตุดิบ ไม่รวมค่าเช่า ค่าพนักงาน จะมีกำไรประมาณ 10 กว่าบาท เอาไปหารค่าเครื่องเอาว่าเมื่อไหร่จะคืนทุน ถ้าขายดี ก็โชคดีไป ถ้าขายไม่ได้ก็โชคร้าย
วิธีการเลือกเครื่องชงกาแฟที่ดีที่สุดเลือกให้เหมาะกับขนาดธุรกิจ และกลุ่มลูกค้า เช่นจะขายสัก 30-35 ก็เครื่องชงสัก 5 หมื่นก็พอโอเค ถ้าจะขายสัก 40-50 บาทขึ้นก็ เครืองเป็นแสนเอาเลย เพราะอย่างน้อยคุณคงมีเงินค่าแต่งร้านอีกหลายแสนอยู่ละ
วิธีการบริหารร้านเบื้องต้นสำหรับอาชีพอิสระมือใหม่
สิ่งสำคัญที่เป็นองค์ประกอบหลักในการทำอาชีพอิสระนี้คือ เจ้าของร้าน โดยเฉพาะถ้าเป็นธุรกิจส่วนตัวขนาดเล็กที่เจ้าของเป็นผู้บริหารเอง ทั้งนี้ ขอกล่าวในลักษณะที่ เจ้าของบริหารเอง หากเป็นเจ้าของจ้างคนอื่นมาบริหารหรือจ้างผู้จัดการร้าน และไม่เอาใจใส่ บอกได้เลย เตรียมตัวให้ดีกับปัญหาที่ตามมา นอกจากนี้เจ้าของร้านเองจะต้องมีความสุขกับอาชีพอิสระและการค้าขาย มีความมุ่งมั่นเป็นแรงบันดาลใจอย่างยิ่งใหญ่ในการที่จะทำธุรกิจ มีความพร้อมและความอดทนที่จะเป็นนายคนอื่น มีทุนทรัพย์ (เงินลงทุน) ที่เพียงพอต่อการทำธุรกิจส่วนตัว
สำรวจวัตถุดิบ เมล็ดกาแฟ เมล็ดกาแฟมีหลากหลายเกรด อยู่ที่คุณจะเลือกใช้ ถ้าอยากได้คุณภาพ และรสชาติที่ดีก็ต้องใช้ของดีเกรดเอไปเลย แต่สิ่งที่จะตามมาก็คือเรื่องของต้นทุนที่สูงขึ้น ดังนั้นเจ้าของร้านกาแฟต้องปรับใช้เอาเองว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร จะได้เลือกใช้เมล็ดกาแฟได้อย่างเหมาะสม
สำรวจรสชาติของกาแฟ (Coffee) ข้อดีคงไม่ต้องบอกอะไรมากครับ เพราะต่อให้ร้านกาแฟสดของคุณดูสวยหรู บรรยากาศดีแค่ไหน แต่รสชาติแย่เหมือนน้ำล้างจาน ไม่นานก็ต้องม้วนเสื่อกลับบ้านครับ ดังนั้นต้องปรับปรุงรสชาติให้ดีและมีมาตรฐานเข้าไว้
งบประมาณการลงทุนที่กำหนดเองได้
ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการทำอาชีพอิสระเปิดร้านกาแฟในรูปแบบ Stand Alone จะใช้เงินลงทุนเริ่มแรกประมาณ 300,000 ถึง 1,500,000 บาท ซึ่งโครงสร้างต้นทุนของร้านกาแฟรูปแบบนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน คือ
1. ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ประมาณ 90% ได้แก่ ค่าก่อสร้างออกแบบและตกแต่งสถานที่ ค่าวางระบบต่างๆ (ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ระบบเก็บเงิน) ค่าอุปกรณ์
2. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นประมาณ 10% ได้แก่ ค่าวัตถุดิบสินค้า ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าพื้นที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ส่วนในการเปิดร้านรูปแบบอื่นๆ ก็จะราคาต่ำลงได้อีกหากผู้ลงทุนมีการวางแผนการตลาดที่ดี
การกำหนดราคาขาย
ราคาขายของกาแฟแต่ละถ้วย จะถูกกำหนดขึ้นจากต้นทุนบวกด้วยกำไรที่ผู้ทำอาชีพอิสระต้องการ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว การตั้งราคาของผู้ทำอาชีพอิสระจะต้องคำนึงถึงราคาขายของผู้ทำอาชีพอิสระรายอื่นๆ ในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเดียวกันที่มีในตลาดด้วย เช่น กรณีของร้านกาแฟตัวอย่างที่กำหนดไว้นี้ จับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายระดับบน ซึ่งราคาจำหน่ายกาแฟในตลาดระดับนี้ อยู่ที่ ประมาณ 45-65 บาท คิดเป็นราคาขายแก้วละ 55.00 บาท
ประเภทของกาแฟที่ควรมีในร้าน
เอสเพรสโซ คือ กาแฟที่ถูกเตรียมด้วยเครื่องเอสเปรสโซ แมชีน และใช้กาแฟคั่วระดับที่เข้มบดละเอียดให้รสชาติเข้มข้น นิยมใช้กาแฟอราบิก้า จะเสริฟในถ้วยขนาดเล็กไม่เกิน 1.5 ออนซ์ ซึ่งกาแฟเอสเปรสโซ่จะเป็นตัวเบสพื้นฐานในการชงกาแฟอื่นๆ
กาแฟอเมริกันโน่ คือ กาแฟ เอสเพรสโซ + น้ำร้อน
กาแฟลาเต้ คือ กาแฟเอสเพรสเข้มข้นประมาณ 1.5 ออนซ์ + นมร้อน ประมาณ 6 ออนซ์และแต่งด้วยฟองนมเล็กน้อย ด้านบน รสชาติจะหอมละมุ่นด้วยกลิ่นนมและกาแฟ
กาแฟคาปุชิโน่ คือ กาแฟเอสเพรสโซ + นมร้อน 1 ส่วน และฟองนม 1 ส่วน และนิยมโรยหน้าด้วยผงซินนาม่อนหรือผงช็อกโกแลต
กาแฟมอคค่า คือ เอสเพรสโซ่ น้ำเชื่อมช็อคโกแลต นมร้อน และปิดหน้าด้วย วิปปิ้งครีม แต่งหน้าด้วยผงช็อคโกแลต
กาแฟเฟรนเพรส คือ การชงกาแฟด้วยแก้ว French Press เวลา ดื่มจะต้องกดก้านกรองของแก้วลงก้านตะแกรงกรองจะแยกชั้นระหว่างน้ำกาแฟและผง กาแฟ ซึ่งวิธีการชงแบบนี้จะพบได้ตามร้านอาหาร โฮมเมท ตามสุขุมวิทหรือสีลม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.kingsmes.com/2015/03/my-coffee-shop.html